Archive for สิงหาคม, 2009

เส้นทางเดินรถทางเดียว ถนนชูชาติกำภู

วันจันทร์, สิงหาคม 31st, 2009

ผังเส้นทางเดินรถทางเดียว ถนนชูชาติกำภู และถนนหน้าโรงเรียนเด็กเล็กฯ

vehicle2

ตัวอย่างบทความวิจัย

วันเสาร์, สิงหาคม 22nd, 2009

ตัวอย่างที่ 1 บทความวิจัย

การพัฒนาคุณธรรมด้านจิตอาสาของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ด้วยกิจกรรม ๑ วัน ๑ ความดี
A Development of Grade 10  12 Students Service-Minded Virtue with 1 – Day – 1 – Goodness Activities

ตัวอย่างที่ 2 บทความทางการศึกษา

เรียนรู้ร่วมกันกับการศึกษาพันธุ์ไม้ระหว่างครูกับศิษย์
ในกิจกรรมอิสระและพัฒนาตน

ตัวอย่างที่ 3 ชื่อผู้เขียนบทความวิจัย

รศ.ดร.จิราภรณ์ ศิริทวี
Associate Professor Dr. Chiraporn Sirithavee
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Kasetsart University Laboratory School

ตัวอย่างที่ 4 ชื่อผู้เขียนบทความทางการศึกษา

ผศ.มาลินท์ อิทธิรส
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ดาวน์โหลดตัวอย่างบทความวิจัย

ข้อกำหนดการพิมพ์บทความวิจัยและบทความทางการศึกษา

วันเสาร์, สิงหาคม 22nd, 2009

ข้อกำหนดการพิมพ์บทความวิจัยและบทความทางการศึกษา
เพื่อตีพิมพ์ในหนังสือ สาธิตวิชาการ ครั้งที่ 3

หน้ากระดาษ บน  ล่าง  ซ้าย  ขวา ด้านละ 1 นิ้ว
ชื่อบทความ ตัวอักษร Angsana New ขนาด 26 ตัวหนา ตำแหน่งตรงกลางของหน้ากระดาษ
(ตัวอย่างที่ 1 และ ตัวอย่างที่ 2)
ชื่อผู้เขียน ตัวอักษร Angsana New ขนาด 18 ตัวธรรมดา ตำแหน่งทางขวามือของหน้ากระดาษ
(ตัวอย่างที่ 3 และ ตัวอย่างที่ 4)
ชื่อหัวข้อ ตัวอักษร Angsana New ขนาด 18 ตัวหนา
ลำดับความสำคัญเดียวกันให้อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ดังนี้
1. _____________________
2. _____________________
1.1 _____________________
1.2 _____________________
1.1.1 _________________
1.1.2 _________________
เนื้อหา ตัวอักษร Angsana New ขนาด 16 ตัวธรรมดา
ย่อหน้า 2 Tab
บรรทัดระหว่างย่อหน้า 1 ปัด

ดาวน์โหลดข้อกำหนดการพิมพ์บทความวิจัยและบทความทางการศึกษา

คำแนะนำสำหรับส่งบทความวิจัยและบทความทางการศึกษา

วันเสาร์, สิงหาคม 22nd, 2009

คำแนะนำสำหรับการส่งบทความวิจัยและบทความทางการศึกษา

การเตรียมต้นฉบับ
1. ขอบเขตของบทความ เป็นบทความวิจัยและบทความทางการศึกษา
2. การเสนอต้นฉบับเพื่อการตีพิมพ์ ผู้เขียนต้องไม่เสนอบทความฉบับเดียวกันที่เคยตีพิมพ์ในสิ่งพิมพ์
อื่นมาก่อน เว้นแต่ผ่านการเรียบเรียงใหม่
3. ต้นฉบับเพื่อการตีพิมพ์ ขอให้แต่ละโรงเรียนรับรองความถูกต้อง
4. ต้นฉบับ มีความยาวไม่เกิน 12 หน้า ส่งเป็น File ที่ E-mail : Satsnt@ku.ac.th หรือ
Chomthaidd@hotmail.com ภายในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552
5. ชื่อผู้เขียน ใช้ชื่อเต็ม
6. สถานที่ทำงานของผู้เขียน ให้ระบุชื่อโรงเรียนและที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้สะดวก
7. เนื้อหา เนื้อหางานวิจัย ควรประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
บทคัดย่อ สรุปสาระสำคัญของบทความไว้โดยครบถ้วน และมีความยาวประมาณ 3%
ของตัวเรื่อง ให้ระบุคำสำคัญ (Key words) จำนวนไม่เกิน 5 คำ ไว้ด้วย
บทนำ อธิบายถึงความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ และขอบเขตของการวิจัย
สมมติฐาน ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ อาจรวมถึงการตรวจเอกสารไว้ด้วย
การตรวจเอกสาร เป็นการสังเคราะห์สาระจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดง
แนวความคิด ทฤษฎี และข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับเรื่องที่วิจัย
วิธีดำเนินการวิจัย ระบุวิธีการเก็บข้อมูล ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บข้อมูล รวมถึงปี พ.ศ. ที่ทำการ
วิจัย วิธีวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งอาจเป็นวิธีการเชิงคุณภาพหรือวิธีการเชิงปริมาณ
ขึ้นอยู่กับชนิดของการวิจัย
ผลของการวิจัย แสดงผลของการวิจัย และข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษาวิจัยนั้น ๆ อาจมี
ภาพ ตาราง และแผนภูมิประกอบ
บทสรุป วิจารณ์ และข้อเสนอแนะ เป็นการสรุปผลที่ได้รับจาการวิจัยรวมถึงการอภิปรายผลและให้
ข้อเสนอแนะบนพื้นฐานของผลการวิจัย
8. ภาพประกอบและตาราง ควรมีเฉพาะที่จำเป็น และมีหมายเลขกำกับภาพตามลำดับ ภาพจะต้องชัดเจน
แสดงเนื้อหาสำคัญของเรื่อง ภาพถ่ายควรเป็นภาพขาว ? ดำ ภาพสีใช้ในกรณีที่จำเป็น คำอธิบายภาพประกอบและตารางให้ใช้ข้อความกะทัดรัด ชัดเจน
9. เอกสารอ้างอิง เอกสารอ้างอิงภายในเนื้อเรื่องและภายใต้หัวข้อเอกสารอ้างอิงจะต้องตรงกัน ไม่ควร
อ้างอิงเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือห่างไกล การอ้างอิงต้องถูกต้องตามหลักวิชาการ และจะต้องมีรายละเอียดสำคัญเกี่ยวกับเอกสารไว้ครบถ้วน เพื่อความสะดวกในการติดตามเอกสารที่ผู้เขียนได้อ้างอิงไว้ และการอ้างอิงควรใช้รูปแบบเดียวกันโดยสม่ำเสมอ โดยใช้ระบบชื่อและปี

9.1 การเรียงลำดับเอกสารเรียงตามลำดับอักษรชื่อผู้เขียนโดยไม่ต้องมีเลขกำกับเริ่มด้วยรายชื่อเอกสาร
ภาษาไทยและต่อด้วยรายชื่อเอกสารภาษาต่างประเทศ
9.2 การอ้างอิงเอกสารที่เป็นภาษาไทย ชื่อผู้เขียนใช้ชื่อเต็ม
9.3 การอ้างอิงเอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศ ชื่อผู้เขียนให้อ้างนามสกุลก่อน โดยเขียนเป็นคำเต็มและ
ตามด้วยชื่ออื่น ๆ ซึ่งย่อเฉพาะอักษรตัวแรก ในกรณีชื่อที่มีคำขึ้นต้นด้วยคำว่า Van, de, der, von ให้เขียนเติมนำหน้าชื่อสกุล สำหรับชื่อของผู้เขียนที่เป็นคนไทย ให้เขียนเป็นคำเต็มด้วย

ตัวอย่างการเขียนรายชื่อเอกสารอ้างอิง

หนังสือ ตำรา และรายงานทั่วไป
ก. หนังสือภาษาไทย
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และสุชาติ สวัสดิศรี. 2518. ประวัติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ไทย.
กรุงเทพฯ: ประพันธสาส์น.
ข. หนังสือภาษาต่างประเทศ
Burgers, E.W., H.J. Locke and M.N. Thomas. 1963. The family: From Institution to
Companionship. 3rd ed. New York: American Book Company.
Saihoo, Pattaya. 1980. The Hill Tribes of Northern Thailand. Bangkok: The Sompong
Press Ltd.
ค. หนังสือที่มีผู้เขียนเกินสามคน
เฉลิม จันปฐมพงษ์ และคณะ. 2520. ประวัติศาสตร์สังคมไทย. นนทบุรี: ชัยศิริการพิมพ์.
ง. หนังสือที่ผู้เขียนเป็นสถาบัน/นิติบุคคล
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2523. ชนบทไทย. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.
จ. หนังสือแปล
จันทรเกษม ศิริโชค. 2508. ความจำเริญทางเศรษฐกิจตามลำดับชั้น. พระนคร: สภาวิจัย
แห่งชาติแปลจาก W.W. Rostow. 1971. Stages of Economic Growth. Cambridge:
Cambridge University Press.
ฉ. หนังสือประเภทรายงาน
กองนโยบายและวางแผน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. 2520. รายงานผลการวิจัยเรื่อง
ภาวะการสอนและการวิจัยทางสังคมศาสตร์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ.

ช. หนังสือที่มีการอ้างอิงสองทอด
ใจเฉิด เที่ยงธรรม. 2517. มานุษยวิทยาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : พัฒนาการพิมพ์ อ้างถึง Laster
Ward. 1971. The Development of Mankind. New York: Rinheart and Winston.

รายงานการประชุมสัมมนา
ฉัตร ช่ำชอง. 2530. สินค้าเกษตรที่มีศักยภาพการส่งออก การประชุมทางวิชาการของ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 25 สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจคณะ
เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระหว่าง 3 - 5 กุมภาพันธ์
2530. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2530: 58 ? 75.

วิทยานิพนธ์
เกษรา พันธ์สุโภ. 2538. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการสอนของครูผู้สอนชั้นเด็กเล็ก.
กรุงเทพฯ : วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วารสารและหนังสือพิมพ์
ก. บทความในวารสาร
สมร นิติทัณฑ์ประภาส. 2524. การปฏิวัติมารยาทและศีลธรรมของคนอเมริกันในทศวรรษ ค.ศ.
1920. สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 1 (มกราคม - กุมภาพันธ์ 2524): 47 - 71.
Richard, L., B. Rollerson, and J. Phillips. 1991. Perceptions of Submissiveness:
Implications for Victimization. Journal of Psychology 125(4): 407 - 411.
ข. บทความในหนังสือพิมพ์
นภา อุบลมาน. 2524.  ชาวเขาที่กำลังจะเป็นชาวเรา ไทยรัฐ (13 กันยายน 2524): 5.
อินเทอร์เน็ต
ณรงค์ โฉมเฉลา. 2548. การบรรยายประชุมวิชาการเรื่องบทบาทของน้ำมันมะพร้าวต่อสุขภาพ
และความงาม (ออนไลน์). เข้าถึงได้จากhttp://www.dtam.moph.go.th/alternative/
viewstory.php?id=360

ดาวน์โหลดคำแนะนำสำหรับการส่งบทความวิจัยและบทความทางการศึกษา

ลงทะเบียนWorkshop

วันเสาร์, สิงหาคม 22nd, 2009

ขอเชิญท่านผู้สนใจWorkshop ซึ่งมีกิจกรรมให้เลือกมากมาย? และมีจำนวนจำกัด ลงทะเบียนล่วงหน้า ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน

วันเสาร์, สิงหาคม 22nd, 2009

ขอเชิญท่านผู้สนใจเข้าร่วมสาธิตวิชาการครั้งที่ 3? ลงทะเบียนล่วงหน้าผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

สูจิบัตร

วันศุกร์, สิงหาคม 21st, 2009

logo-eng

ลักษณะกิจกรรม

วันศุกร์, สิงหาคม 21st, 2009

 การบรรยายพิเศษ
การปฏิบัติดีเลิศ จากโรงเรียนสาธิตทั่วประเทศ ( BEST PRACTICE FROM LAB SCHOOLS)
- การนำเสนอผลงานวิชาการ
- การอบรมเชิงปฏิบัติการ
- นิทรรศการ
- Open House
การประกวดและการแข่งขันทางวิชาการ
การแสดงของนักเรียน
การจำหน่ายหนังสือและสื่อการเรียนรู้

โรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม

วันศุกร์, สิงหาคม 21st, 2009

ลำดับ ชื่อโรงเรียน

1 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
2 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น
4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม
5 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม
6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
7 โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร
8 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา”
9 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒปทุมวัน
10 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายประถม)
11 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)
12 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
13 โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
14 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)
15 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง(ฝ่ายมัธยม)
16 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร
17 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร(ปฐมวัยและปฐมศึกษา) ระดับประถมศึกษา
18 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
19 โรงเรียนอนุบาลสาธิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
20 โรงเรียนสาธิตอนุบาลราชมงคล
21 โรงเรียนอนุบาลมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
22 โรงเรียนสาธิตอนุบาลจันทรเกษม
23 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
24 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
25 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง (อนุบาลทานตะวัน)
26 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
27 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
28 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
29 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
30 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
31 โรงเรียนประถมสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
32 โรงเรียนมัธยมสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
33 ศูนย์สาธิตการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
34 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
35 โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
36 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ฝ่ายมัธยม
37 โรงเรียนสาธิตปฐมวัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
38 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา(ฝ่ายประถม)
39 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
40 ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
41 โรงเรียนสาธิตปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
42 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
43 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
44 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
45 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
46 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
47 โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ
48 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ (ฝ่ายการศึกษาพิเศษ)
49 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
50 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
51 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์(ศูนย์กรุงเทพฯ)
52 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
53 โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
54 โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
55 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
56 โรงเรียนสาธิตอนุบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
57 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
58 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
59 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรังสิต

ความเป็นมา

วันศุกร์, สิงหาคม 21st, 2009

                   ความเป็นมาของสาธิตวิชาการ
จากการที่กลุ่มโรงเรียนสาธิตสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย(เดิม) ซึ่งมีจำนวน 16 โรงเรียนได้ร่วมกันจัดกีฬาสามัคคีขึ้นทุกปีนั้น ผู้อำนวยการและอาจารย์ใหญ่ของแต่โรงเรียนได้มีการอภิปรายว่านอกเหนือจากการจัดแข่งขันกีฬาแล้ว โรงเรียนสาธิตในฐานะที่มีบทบาทในการเป็นผู้นำทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและมีพันธกิจที่เหมือน ๆ กัน คือการเป็นแหล่งเรียนรู้และการให้บริการด้านวิชาการต่อสังคม ในที่สุดได้ลงความเห็นกันว่าโรงเรียนสาธิตแต่ละแห่งต่างมีศักยภาพและจุดเด่นที่แตกต่างกัน หากได้นำเสนอจุดเด่นเหล่านั้นให้สถาบันการศึกษาอื่น ๆ ได้รับรู้และนำไปใช้ประโยชน์ก็จะเป็นการช่วยพัฒนาการจัดการศึกษาของชาติให้มีคุณภาพได้มากขึ้น จึงได้ริเริ่มจัดงานสาธิตวิชาการขึ้นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2548 และตั้งเป้าหมายว่าจะจัดงานดังกล่าวทุก 2 ปี ในการจัดงานแต่ละครั้ง โรงเรียนสาธิตแต่ละแห่งจะผลัดเปลี่ยนกันเป็นประธานและมีแนวความคิดหลักแตกต่างกันไป ดังนี้

สาธิตวิชาการ ครั้งที่ 1
แนวคิดหลัก จาก LAB SCHOOL สู่ REAL WORD
กำหนดวันจัดงาน วันที่ 3 – 4 พฤษภาคม 2548
สถานที่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพฯ
ประธาน โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งฝ่ายประถมศึกษาและฝ่ายมัธยมศึกษา โดยมีโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงทั้งฝ่ายประถมศึกษาและฝ่ายมัธยมศึกษา เป็นเจ้าภาพร่วมกัน พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกในเรื่องสถานที่จัดงาน
สัญลักษณ์ ออกแบบโดยนายพรเทพ พงศ์ไพโรจน์ ช่างศิลป์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

                                        satit1
ความหมายของสัญลักษณ์
- หนังสือเรียนวิชาต่าง ๆ ที่หลากหลาย เป็นเสมือนความรู้ทางวิชาการและความเชี่ยวชาญในด้านการเรียนการสอนของโรงเรียนสาธิตฯ
- โลก แทนความเป็นสากลและไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปเร็วแค่ไหน ความทันสมัย ความรู้ ความสามารถและวิชาการของโรงเรียนสาธิตฯ จะสามารถก้าวตามโลกได้ทัน
- อุ้งมือที่มีหนังสือและโลก เปรียบเสมือนทั้งความรู้ทางวิชาการและความทันสมัย ความเป็นสากล ที่จะไปด้วยกันได้ภายใต้การเรียนการสอนอันทันสมัยของโรงเรียนสาธิตฯ
- ตัวเด็ก หมายความถึงนักเรียนโรงเรียนสาธิตฯ ทั้งเด็กผู้ชายและเด็กหญิง

สาธิตวิชาการ ครั้งที่ 2

แนวคิดหลัก สาธิต…คิดสร้างสรรค์  (จัดควบคู่กับงาน EDUCA 2007)
กำหนดวันจัดงาน วันที่ 25 - 27 ตุลาคม 2550
สถานที่จัดงาน ศูนย์แสดงนิทรรศการและการประชุมไบเทค
ประธาน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ฝ่ายประถมศึกษา ฝ่ายมัธยมศึกษา และปทุมวัน
สัญลักษณ์ ออกแบบโดยเจ้าหน้าที่ของบริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) มหาชน จำกัด

                                   satit2
ความหมายของสัญลักษณ์
- รูปหกเหลี่ยม 16 รูป หมายถึงสาธิตแรกเริ่ม 16 สถาบัน ที่มาประสานงานกันอย่างงดงาม
- รูปหกเหลี่ยมเรียงกันเป็นรูปคนวิ่ง หมายถึง การก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง

เนื่องจากต่อมารัฐบาลประกาศให้มหาวิทยาลัยทุกมหาวิทยาลัยอยู่ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ดังนั้น  การจัดงานสาธิตวิชาการครั้งที่ 3  จึงมีโรงเรียนสาธิตและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเข้ามาร่วมงานและสังเกตการณ์เพิ่มขึ้น ทำให้มีโรงเรียนสาธิต จำนวน 55 โรง
และศูนย์เด็กเล็กของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ 4 ศูนย์  เข้าร่วมงานในครั้งนี้

สาธิตวิชาการ ครั้งที่ 3

แนวคิดหลัก นวัตกรรมนำสังคม: Best Practice From Lab Schools
กำหนดวันจัดงาน วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน -เสาร์ที่ 1 พฤษภาคม 2553
สถานที่  โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา กรุงเทพฯ และอาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประธาน โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
และโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
สัญลักษณ์  ใช้สัญลักษณ์เป็นรูปหกเหลี่ยม  เรียงกันเป็นรูปคนวิ่ง มีตัวเลข 2010 ใต้ข้อความ สาธิตวิชาการ

                                     satit3
ความหมายของสัญลักษณ์
- รูปหกเหลี่ยมเรียงต่อกันอย่างสวยงาม หมายถึง การร่วมมือกันสร้างสรรค์งานอย่างงดงามของโรงเรียนสาธิตทุกสถาบัน
-รูป หกเหลี่ยมเรียงกันเป็นรูปเด็กวิ่ง หมายถึง  การก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง

จัดทำโดยฝ่ายประชาสัมพันธ์