เมื่อวันที่ 22 เมษายน พุทธศักราช 2514 คณะศึกษาศาสตร์ โดยรองคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ รักษาราชการแทนคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ (ศ.ดร. อุบล เรียงสุวรรณ) ได้มีบันทึกที่ 183/2014 ถึงอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ ( ศ.ดร. ประเสริฐ ณ นคร) มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เรื่อง การจัดตั้ง โรงเรียนสาธิตความว่า "คณะศึกษาศาสตร์ ขอเสนอเรื่องการ จัดตั้ง โรงเรียนสาธิต เพื่อขอให้กระทรวง ศึกษาธิการ รับทราบ และรับรองผลการศึกษา ดังที่กระทรวง ศึกษาธิการ ปฏิบัติต่อ โรงเรียนสาธิตอื่น ๆ ในสังกัด สถาบันฝึกหัดครู"
ในวันเดียวกันนั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยอธิการบดี (ม.จ.จักรพันธุ์ เพ็ญศิริจักรพันธุ์) ได้ออกหนังสือที่ สร.210182514 ถึงปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ (นายบุญถิ่น อัตถากร) เรื่องการจัดตั้ง โรงเรียนสาธิต ความว่า "อนุสนธิ เนื่องด้วยการจัดตั้งคณะศึกษาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามประกาศ สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การแบ่งส่วนราชการ ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2512 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้พิจารณา เห็นสมควร จัดตั้งโรงเรียนสาธิต ในสังกัดคณะ ศึกษาศาสตร์ด้วยทั้งนี้เพื่อเป็น ห้องปฏิบัติการ ทางการ ฝึกหัดครู ระดับ ปริญญา และเพื่อ ทำการทดลองค้นคว้าหาความรู้ให้กว้างขวางในด้านการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ พร้อมที่จะดำเนินการ โรงเรียนสาธิตแล้ว ในปีการศึกษา 2514 นี้โรงเรียนสาธิตของคณะศึกษาศาสตร์นี้ มีชื่อว่า โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะเปิดทำการสอนนักเรียน ทั้งในระดับประถมศึกษา และ ระดับมัธยมศึกษา ในระยะแรกนี้ จะเปิดรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนตามแผนงาน ภายใน ระยะเวลา 5 ปี คือใน พ.ศ. 2518 จึงจะมีชั้นครบ 12 ชั้น
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา รับรองผลการศึกษา ของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ตามที่ ทางกระทรวงศึกษาธิการ ได้ปฏิบัติต่อโรงเรียนสาธิตอื่นๆ ในสถาบัน ฝึกหัดครูด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง
กระทรวงศึกษาธิการ โดยปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ (นายบุญถิ่น อัตถากร) ได้มีหนังสือที่ ศษ 0201/10694 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2514 ตอบรับรอง ผลการศึกษาของ ผู้สำเร็จชั้นต่างๆ จากโรงเรียนสาธิต แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สรุปความว่าให้โรงเรียน
สาธิตของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ออกใบสุทธิ ใบรับรอง ผลการศึกษา และประกาศนียบัตรได้ โดยให้มีคำว่า "โดยอนุมัติ กระทรวงศึกษาธิการ" ทั้งนี้ ควรจัดพิมพ์แบบใบสุทธิและประกาศนียบัตรตามแบบของกระทรวงศึกษาธิการ สำหรับ ประกาศนียบัตรนั้น ให้คณบดี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ลงนาม
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดตั้งขึ้นมาได้ ด้วยความมุ่งหมาย ทางวิชาการของ คณะศึกษาศาสตร์ เป็นหลักสำคัญ เพื่อสนับสนุน การผลิตบัณฑิต ที่จะออก ไป ประกอบอาชีพครู อย่างมีคุณภาพ และเพื่อ พัฒนา วิชาการศึกษา ให้กว้างขวาง ดังกล่าว ข้างต้น โรงเรียนสาธิต จะถือกำเนิดเกิดขึ้นมาได้ จึงจำเป็น ต้องมี คณะ ศึกษาศาสตร์ แต่คณะ ศึกษาศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องมี โรงเรียนสาธิตก็ได้ ถ้าไม่มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาคุณภาพ วิชาการศึกษา และการฝึกหัดครู ี่มาของการเป็น โรงเรียนสาธิต เริ่มต้นใน สหรัฐอเมริกา มานานกว่า 132 ปีแล้ว ตั้งแต่ราว คริสตศักราช 1857 ที่คณะศึกษาศาสตร์
Illinois State University เมือง Normal and Bloomington มีชื่อเรียกว่า Metcalf Laboratory School เพื่อเป็นแหล่ง ฝึกหัดครู และทดลอง หลักสูตร และวิธีการสอนใหม่ๆ ตั้งแต่ระดับอนุบาลประถมศึกษาไปจนถึงมัธยมศึกษาอย่างต่อเนื่องกันซึ่งยังดำเนินการอยู่จนถึงปัจจุบัน
โดยการคัดเลือกรับนักเรียนที่เป็นตัวแทนประชากรวัยเรียนของชุมชนเมืองบลูมิงตัน และเขตแมคคลีตามสภาพทาง สังคม เศรษฐกิจ ผิวพรรณ และวัฒนธรรม พร้อมๆ กัน ับระดับความสามารถทางวิชาการ นอกจากนั้น โรงเรียนสาธิตยังจัดโปรแกรมการศึกษาพิเศษสำหรับเด็ก ี่มีความพิการต่างๆในระดับที่พอจะสามารถเรียนรู้ได้ให้เข้าเรียนร่วมกับนักเรียนปกติในชั้นเรียนอีกด้วย สำหรับการคัดเลือกครูนั้นมีความมุ่งหมาย และต้องการครูที่จะสามารถพัฒนาการเรียนการสอน พร้อมกันไปกับความสามารถที่จะทำงานกับนักการศึกษา ในอนาคตเพื่อปรับปรุงหรือสร้างหลักสูตรและนำแนวความคิดหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ สำหรับพัฒนาวิชาชีพครูได้เป็นอย่างด ำหรับ John Dewey นักปรัชญา การศึกษา ผู้เป็นปรมาจารย์ ทางการฝึกหัดครู ด้วยนั้น ได้ริเริ่มก่อตั้ง โรงเรียนสาธิต ในปี ค.ศ. 1896 ณ มหาวิทยาลัยชิคาโก ( The University of Chicago ) โดยมีจุดมุ่งหมาย ให้เป็น ห้องปฏิบัติการ เพื่อทดลองการสอน และการฝึกหัด นิสิต ทำการสอน ตามแนวความคิด
ที่เชื่อว่านักเรียน จะมี ผลสัมฤทธิ์ ทางวิชาการพร้อมกับความมีระเบียบวินัยได้นั้นควรมีความสัมพันธ์อย่างสำคัญกับการที่นักเรียนได้เรียนรู้ ด้วยการ ปฏิบัติจริง ทำงานจริงๆ เกี่ยวกับกิจวัตร ประจำวันต่างๆ ในโรงเรียน ทั้งนี้โดย การจัดโอกาส ที่จำเป็น เพื่อให้นักเรียนมีเสรีภาพ ในการทดลองปฏิบัติ รู้จักปรึกษาหารือ ซึ่งกันและกัน กับผู้อื่น และร่วมมือ กับเพื่อนๆ ในกระบวนการเรียน ซึ่งผลปรากฏ เป็นที่ ยอมรับ อย่างกว้างขวาง และ แพร่หลายว่า นักเรียน มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน เป็นอย่างดี พร้อมๆ กับการพัฒนาบุคลิก และศักยภาพ ทุกด้านควบคู่กันไป อย่างเหมาะสม กับการเป็น สมาชิก ที่มีคุณภาพ ของสังคม ในระบบการปกครอง แบบประชาธิปไตย ตามที่ต้องการ·Ó
ผลการทดลองจัดการศึกษาแบบโรงเรียนสาธิตมีส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณสมบัติ และลักษณะของบุคคลให้เป็นสมาชิกของสังคม ในประเทศ ที่ต้องการ มีระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างสหรัฐอเมริกา คือ ความมีระเบียบ วินัยในตัวเอง เคารพกฏหมาย ยอมรับค่านิยม และกติกาที่ดีงามของส่วนรวมยอมรับความสามารถและความแตกต่างของผู้อื่นและสามารถให้ความร่วมมือ ต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ ซึ่งผล ดังกล่าวได้แพร่หลายอย่างกว้างขวางเข้าสู่ระบบโรงเรียนสามัญทั่วไปของสหรัฐอเมริกาเป็นลำดับมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ทั้งในด้านการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนการสอนและมาตรฐานคุณภาพของการศึกษาจนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป พร้อมทั้งสามารถเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับการฝึกหัดครู ได้อย่างกว้างขวาง เช่นเดียวกับโรงเรียนสาธิต ดังนั้น เมื่อถึงวาระที่ประเทศมีความจำเป็นทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งกระทบกระเทือนถึงงบประมาณ การศึกษาประจำปีสำหรับมหาวิทยาลัยของมลรัฐต่างๆ โดยทั่วไป จึงได้มีการยกเลิกโรงเรียนสาธิตตามคณะศึกษาศาสตร์ ในมหาวิทยาลัย ต่างๆ เป็น ส่วนใหญ่ ปัจจุบันยังคงเหลือโรงเรียนสาธิตเพียง 14 แห่ง ทั้งประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่ง รวมทั้งโรงเรียนสาธิตฯ Metcalf Laboratyory School of the Illinois State University , Normal and Bloomington; The Laboratory School of the University of Chicago; Bishop Lehr Laboratory School of the University of Nortern Colorado, Greeley เป็นต้น ที่ยังคงดำเนินการ เต็มรูปแบบ ตามหลักการ และวัตถุประสงค์ อยู่ทุกประการ
John Dewey ได้กล่าวถึง หลักการ ของโรงเรียนสาธิต ที่ตนเอง ได้สร้างขึ้นที่ มหาวิทยาลัยชิคาโก ในที่ประชุม ของ Pedagogical Club ของมหาวิทยาลัยดังนี้
The conception underlying the school is that of a laboratory ... It has two main purposes : (1) to exhibit, test, vertify and criticize theoretical statements and principles , (2) to add to the sum of facts and principles in its special line.(The University Record I, No.32, 417)
จากนั้น John Dewey ยังได้เขียนไว้ ในหนังสือ School and Society ปี ค.ศ. 1899 หน้า 115 ไว้ว่า "โรงเรียนสาธิตฯ ได้เริ่มต้นดำเนินการทันที โดยมีหลักการ และแนว ความคิดต่างๆที่เตรียมไว้พร้อม โดยเรียบร้อยแล้ว ... ครูทั้งหลาย เริ่มต้นทำงาน โดยมีข้อ สงสัยมากมาย และถ้าข้อสงสัยต่างๆ นั้น ได้รับคำตอบ ก็เป็นผลมาจาก การปฏิบัติงานของครู นั่นเอง" ซึ่งหลักการ ะแนวความคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับ โรงเรียนสาธิต มีดังต่อไปนี้คือ
1. เมื่อเด็กเริ่มเข้าโรงเรียนกิจกรรมทางบ้านของเด็กไม่ได้ถูกตัดขาดจากกิจกรรมทางโรงเรียน แต่จะมีความสัมพันธ์สอดคล้องซึ่งกันและกัน โดยการที่เด็กจะได้รับการฝึกฝนให้ใช้มือทำงานกิจวัตรประจำวันที่จำเป็น ต่างๆ ซึ่งเด็กจะได้รับ ประสบการณ์ ทางสังคม การอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ การสะกดคำ จะเป็นผลสืบเนื่อง สัมพันธ์ตามมา กับความจำเป็น ที่เด็กจะต้องได้ข่าวสาร ข้อมูล และการใช้ การสื่อสารทำความเข้าใจซึ่งกัน และกันกับผู้อื่น เด็กจะได้รับ การเรียนรู้ โดยผ่าน ประสบการณ์ มีเสรีภาพ ในการเคลื่อนไหว และสื่อสาร ความเข้าใจกับผู้อื่นรับความช่วยเหลือ จากครู และจากเพื่อนร่วมชั้น ประเด็น สำคัญ คือ เมื่อเด็ก เริ่มใช้อุปกรณ์ เครื่องมือในการทำงาน เด็กจะรู้สึกถึง ความจำเป็นต้องใช้ เพื่อที่จะทำงาน ให้บังเกิดผล มิใช่ ใช้เพื่อปรุงแต่ง ให้เด็กมีความตั้งใจ ประเด็นนี้ เป็นเหตุผล ที่สำคัญทางจิตวิทยา ในการเริ่มต้น ให้การศึกษาเด็กโดยการทำกิจกรรม
2. เด็กควรจะได้รับการเรียนรู้ที่จะดำรงชีวิตในปัจจุบันให้มากกว่าที่จะต้องเตรียมตัว เพื่อชีวิตการเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต คือ
เด็กควรเรียนรู้ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม รู้จักการรอโอกาสของตน ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน และรับความช่วยเหลือจากเพื่อนและจากครู สังคมในโรงเรียน ควรต้องจัด ให้เด็กมีบทบาท ความรับผิดชอบ แทนการ เป็นเพียง แหล่งที่เด็ก เข้ามาอยู่ เพื่อเรียน บทเรียนจากหนังสือ ความรู้สึก ในความสำเร็จ ของเด็กจะได้ มาจากการมีส่วน ในความร่วมมือ กับส่วนรวม แทนการเป็นเพียงผู้ชนะ ในการแข่งขัน จอน ดิวอี้ กล่าวถึงจุดอ่อน ี่สำคัญของโรงเรียน ต่างๆ ในขณะนั้นว่า โรงเรียนทั้งหลาย พยายาม ที่จะเตรียมนักเรียน ่การดำรงชีวิตในสังคม ในสถานการณ์ ที่เรียกว่า "การทุ่มเทจิตใจ และ วิญญาณ เพื่อสังคม เป็นสิ่งที่สำคัญ เหนือสิ่งอื่นใด"

3. โรงเรียนต้องเป็นแหล่งที่ ปลุกเร้า ความสนใจ และความกระตือรือล้น ของเด็ก ด้วยการ เผชิญปัญหาต่างๆเพื่อท้าทายให้เด็กค้นคว้าาข้อสรุปด้วยวิธีการของตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยการใช้ความคิดสร้างสรรค์และการคิดประดิษฐ์ของตนเองไม่ควรมีการเรียนรู้โดยการท่องและจดจำ แต่คำตอบเด็กควรจะได้มีโอกาสคิดและลองผิดลองถูกเพื่อหาข้อสรุปของปัญหาต่างๆซึ่งเป็นหนทางของการเพิ่มพูน ความรู้และเป็นความรู้ที่จะยังติดอยู่กับตัวเด็กต่อไป การเรียนรู้การคูณเลขสามารถทำได้สำเร็จรวดเร็วกว่าด้วยการฝึกฝน แต่ความรู้สึกพึงพอใจชื่นชมยินดีเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของจำนวนและตัวเลขจะยังผลให้เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้อย่างแข็งแกร่ง ถึงแม้จะต้องใช้เวลาที่มากกว่า ในการสำรวจ ค้นคว้าด้วยตัวของเด็กเอง
4. ตัวปัญหาเองจะทำให้เด็กมีวินัยในตนเอง โดยการที่เด็กจะต้องใส่ใจกับงานด้วยตนเองไม่มีรางวัลตอบแทน ไม่มีการผิด ไม่มีเกณฑ์ มาตรฐานของผู้ใหญ่มาบังคับและการเรียนรู้ของเด็กควรจะต้องเป็นไปด้วยความสนใจท้าทายเหมาะสมกับความสามารถของเด็กเอง
5. ครูจำเป็นต้องระลึกไว้เสมอว่าเด็กไม่ใช่วัตถุสิ่งของ แต่เป็นศูนย์กลางของการสอน ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะสร้างความเจริญเติบโต ทางจิตใจ ทางร่างกายทางสังคมพร้อมกันไป ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของการศึกษาทั้งปวง ครูจำเป็นต้องคำนึงถึงความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน จุดแข็งและข้อจำกัดของเด็กแต่ละคนและนำไปใช้ในการพิจารณาวางแผนการเรียนการสอนประจำวันให้เกิดประโยชน์งานของครู จึงหมายถึงการที่ครู รู้จักเลือกประสบการณ์ ที่มีค่าจริงๆ สำหรับเด็ก รู้จักเลือกปัญหา ที่จะเร้าความกระตือรือร้น ของเด็ก และกระตุ้นให้เด็กรู้จัก สำรวจ และท้าทายเด็ก ให้มองโลกรอบๆ ตัวเด็กเอง
นอกจากนั้น John Dewey ยังได้เขียนไว้ ในหนังสือ School and Society ปี ค.ศ. 1899 หน้า 115 ไว้ว่า "โรงเรียนสาธิตฯ ได้เริ่มต้นดำเนินการทันที โดยมีหลักการ และแนว ความคิดต่างๆ ที่เตรียมไว้พร้อม โดยเรียบร้อยแล้ว ... ครูทั้งหลาย เริ่มต้นทำงาน โดยมีข้อ สงสัยมากมาย และถ้าข้อสงสัยต่างๆ นั้น ได้รับคำตอบ ก็เป็นผลมาจาก การปฏิบัติงานของครู นั่นเอง" ซึ่งหลักการ และแนวความคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับ โรงเรียนสาธิต มีดังต่อไปนี้คือ
1. เมื่อเด็กเริ่มเข้าโรงเรียนกิจกรรมทางบ้านของเด็กไม่ได้ถูกตัดขาดจากกิจกรรมทางโรงเรียน แต่จะมีความสัมพันธ์สอดคล้องซึ่งกันและกัน โดยการที่เด็กจะได้รับการฝึกฝนให้ใช้มือทำงานกิจวัตรประจำวันที่จำเป็น ต่างๆ ซึ่งเด็กจะได้รับ ประสบการณ์ ทางสังคม การอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ การสะกดคำ จะเป็นผลสืบเนื่อง สัมพันธ์ตามมา กับความจำเป็น ที่เด็กจะต้องได้ข่าวสาร ข้อมูล และการใช้ การสื่อสารทำความเข้าใจซึ่งกัน และกันกับผู้อื่น เด็กจะได้รับ การเรียนรู้ โดยผ่าน ประสบการณ์ มีเสรีภาพ ในการเคลื่อนไหว และสื่อสาร ความเข้าใจกับผู้อื่นรับความช่วยเหลือ จากครู และจากเพื่อนร่วมชั้น ประเด็น สำคัญ คือ เมื่อเด็ก เริ่มใช้อุปกรณ์ เครื่องมือในการทำงาน เด็กจะรู้สึกถึง ความจำเป็นต้องใช้ เพื่อที่จะทำงาน ให้บังเกิดผล มิใช่ ใช้เพื่อปรุงแต่ง ให้เด็กมีความตั้งใจ ประเด็นนี้ เป็นเหตุผล ที่สำคัญทางจิตวิทยา ในการเริ่มต้น ให้การศึกษาเด็กโดยการทำกิจกรรม
2. เด็กควรจะได้รับการเรียนรู้ที่จะดำรงชีวิตในปัจจุบันให้มากกว่าที่จะต้องเตรียมตัวเพื่อชีวิตการเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต คือ เด็กควรเรียนรู้ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม รู้จักการรอโอกาสของตน ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน และรับความช่วยเหลือจากเพื่อนและจากครู สังคมในโรงเรียน ควรต้องจัด ให้เด็กมีบทบาท ความรับผิดชอบ แทนการ เป็นเพียง แหล่งที่เด็ก เข้ามาอยู่ เพื่อเรียน บทเรียนจากหนังสือ ความรู้สึก ในความสำเร็จ ของเด็กจะได้ มาจากการมีส่วน ในความร่วมมือ กับส่วนรวม แทนการเป็นเพียงผู้ชนะ ในการแข่งขัน จอน ดิวอี้ กล่าวถึงจุดอ่อน ที่สำคัญของโรงเรียน ต่างๆ ในขณะนั้นว่า โรงเรียนทั้งหลาย พยายาม ที่จะเตรียมนักเรียน สู่การดำรงชีวิตในสังคม ในสถานการณ์ ที่เรียกว่า"การทุ่มเทจิตใจ และ วิญญาณ เพื่อสังคม เป็นสิ่งที่สำคัญ เหนือสิ่งอื่นใด"
3. โรงเรียนต้องเป็นแหล่งที่ ปลุกเร้า ความสนใจ และความกระตือรือล้น ของเด็ก ด้วยการ เผชิญปัญหาต่างๆเพื่อท้าทายให้เด็กค้นคว้าหาข้อสรุปด้วยวิธีการของตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยการใช้ความคิดสร้างสรรค์และการคิดประดิษฐ์ของตนเองไม่ควรมีการเรียนรู้โดยการท่องและจดจำ แต่คำตอบเด็กควรจะได้มีโอกาสคิดและลองผิดลองถูกเพื่อหาข้อสรุปของปัญหาต่างๆซึ่งเป็นหนทางของการเพิ่มพูน ความรู้และเป็นความรู้ที่จะยังติดอยู่กับตัวเด็กต่อไป การเรียนรู้การคูณเลขสามารถทำได้สำเร็จรวดเร็วกว่าด้วยการฝึกฝน แต่ความรู้สึกพึงพอใจชื่นชมยินดีเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของจำนวนและตัวเลข จะยังผลให้เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้อย่างแข็งแกร่ง ถึงแม้จะต้องใช้เวลาที่มากกว่า ในการสำรวจ ค้นคว้าด้วยตัวของเด็กเอง
4. ตัวปัญหาเองจะทำให้เด็กมีวินัยในตนเอง โดยการที่เด็กจะต้องใส่ใจกับงานด้วยตนเองไม่มีรางวัลตอบแทน ไม่มีการผิด ไม่มีเกณฑ์ มาตรฐานของผู้ใหญ่มาบังคับและการเรียนรู้ของเด็กควรจะต้องเป็นไปด้วยความสนใจท้าทายเหมาะสมกับความสามารถของเด็กเอง
5. ครูจำเป็นต้องระลึกไว้เสมอว่าเด็กไม่ใช่วัตถุสิ่งของ แต่เป็นศูนย์กลางของการสอน ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะสร้างความเจริญเติบโต ทางจิตใจ ทางร่างกายทางสังคมพร้อมกันไป ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของการศึกษาทั้งปวง ครูจำเป็นต้องคำนึงถึงความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน จุดแข็งและข้อจำกัดของเด็กแต่ละคนและนำไปใช้ในการพิจารณาวางแผนการเรียนการสอนประจำวันให้เกิดประโยชน์งานของครู จึงหมายถึงการที่ครู รู้จักเลือกประสบการณ์ ที่มีค่าจริงๆ สำหรับเด็ก รู้จักเลือกปัญหา ที่จะเร้าความกระตือรือร้น ของเด็ก และกระตุ้นให้เด็กรู้จัก สำรวจ และท้าทายเด็ก ให้มองโลกรอบๆ ตัวเด็กเอง